วิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ
Smart Electrical Energy Engineering (SEEE)
รับรอง กว.ไฟฟ้ากำลัง จากสภาวิศวกร ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2565
รายละเอียดของหลักสูตร
รหัสและชื่อหลักสูตร:
รหัสหลักสูตร 25501871109699_2107_IP
ภาษาไทย วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Engineering Program in Smart Electrical Energy Engineering
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา:
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้าสาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ)
วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า)
Bachelor of Engineering (Electrical Engineering in Smart Electrical Energy Engineering)
ปรัชญา “ความเชี่ยวชาญพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ ปฏิบัติตามหลักวิศวกรรม”
เกี่ยวกับหลักสูตร:
เนื่องจากปัจจุบัน ความต้องการใช้พลังงานในภาคอาคาร ภาคโรงงาน ภาคการเกษตร และภาคการขนส่งเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan: PDP2018) ของสํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงานที่เป็นแผนหลักในการจัดหาพลังงานไฟฟ้าของประเทศให้เพียงพอกับความต้องการใช้งานได้ให้ความสําคัญในด้าน ความมั่นคงทางพลังงาน (Security) การเติบโตด้านเศรษฐกิจของประเทศ (Economy) และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Ecology)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เล็งเห็นถึงปัญหาของวิกฤติการณ์ด้านพลังงานไฟฟ้าทั้งทางด้านเสถียรภาพของระบบผลิต ระบบการจําหน่าย และระบบบริหารจัดการด้านพลังงานไฟฟ้า จึงได้ปรับปรุงหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า แขนงวิชาพลังงาน ให้เป็นหลักสูตรวิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ สามารถรองรับความต้องการในการรับมือกับวิกฤตการณ์พลังงานไฟฟ้าทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้
หลักสูตรวิศวกรรมพลังงงานไฟฟ้าอัจฉริยะ มีความสอดคล้องกับและเป็นไปตามข้อบังคับของสภาวิศวกร ระดับภาคีวิศวกร แขนงไฟฟ้ากําลัง ผู้เรียนสามารถประกอบวิชาชีพ เป็นวิศกรไฟฟ้าของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น กฟผ. กฟน.และ กฟภ. องค์กรภาครัฐ รวมถึงองค์กร ภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการผู้รับผิดชอบทางด้านพลังงานในโรงงาน (ผชร.) / ผู้รับผิดชอบทางด้านพลังงานในอาคาร (ผชอ.) ผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กร ฯลฯ ซึ่งเป็นไปตามที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กําหนด และผู้ประกอบการที่ต้องการวิศวกรที่มีทักษะในการบริหารจัดการโครงการ เช่น การเขียนแผนธุรกิจเชิงพาณิชย์สําหรับงานวิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ, ระบบบริหารจัดการพลังงานสําหรับผู้ประกอบการ, การจัดการความเสี่ยงด้านพลังงาน, งานชีวอนามัยและความปลอดภัย
การรับรองหลักสูตร:
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) ปรับปรุงจากหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า แขนงวิชาพลังงาน (ฉบับปรับปรุง 2560) ซึ่งเป็นการปรับปรุงแบบแยก โดยหลักสูตรฯ มีลำดับความคืบหน้าในการดำเนินการดังนี้
- มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565
- สภาวิชาการให้ความเห็นชอบหลักสูตร ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2564 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564
- สภาสถาบันอนุมัติหลักสูตร ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2564 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564
- สภาวิศวกรให้การรับรองปริญญา เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2565
- สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมพิจารณาความสอดคล้องของหลักสูตรและออกรหัสหลักสูตร เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2566
รูปแบบของหลักสูตร:
หลักสูตรระดับปริญญาตรีตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา หลักสูตร 4 ปี
ประเภทของหลักสูตร (เฉพาะหลักสูตรระดับปริญญาตรี):
หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
ขยายเวลาเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2568
หลักสูตรพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะเข้าร่วมหารือพัฒนาหลักสูตร NON-DEGREE เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถ (RESKILL/UPSKILL/NEWSKILL) ของผู้เรียน กับสภาอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล (SIMTec) และสถาบันไทย-เยอรมัน (TGI)
วันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2568
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ นางทิน คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วชิราภรณ์ เพิ่มพูนสินทรัพย์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณาจารย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติพงศ์ ศรีอาหมัด และผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพงษ์ ขำไชโย อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ คณาจารย์ และบุคลากร
เข้าหารือกับ คุณถาวร ชลัษเฐียร (รองประธานสภาอุตสาหกรรม และที่ปรึกษาอาวุโส ตัวแทนกลุ่มบริษัท เด็นโซ่) คุณชัยรัตน์ บรรเทาทุกข์ (ผู้จัดการฝ่ายวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล (SIMTec))
คุณกฤษดา เกรียงศักดิ์พงศ์ เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI)) ร่วมกันพัฒนาหลักสูตร NON-DEGREE เป็นหลักสูตร การเรียนการสอน นอกเหนือ จากภาคปกติ เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถ (RESKILL/UPSKILL/NEWSKILL) ของผู้เรียน เมื่อเรียนจบจะได้รับประกาศนียบัตร รวมทั้ง สามารถสะสมหน่วยกิตได้จนจบการศึกษา ในหลักสูตร
1. Internal System Integrator สามารถประเมินและแก้ไขเทคโนโลยีบางส่วนในโรงงาน เพื่อเชื่อมต่อระบบให้เข้ากับเทคโนโลยีเดิม หรือติดตั้งร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ ให้โรงงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น เริ่มจากการ Lean Automation
2. Carbon Footprint สามารถลดปริมาณรวม ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ และ ก๊าซมีเทน หรือก๊าซอื่นๆ ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ สามารถแยกออกได้เป็น 3 หัวข้อหลัก คือ 1. คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint Organization : CFO) 2. คาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint Product : CFP) 3. Carbon Footprint ของบุคคล รวมถึงด้านบริการ เพื่อเพิ่ม Carbon Credit ให้กับประเทศสูงขึ้น
3. Smart Farmer และ Young Smart Farmer มุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้มีความพร้อมเป็น Smart Farmer เน้นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ให้กับคนในพื้นที่ห่างไกลและแนวชายขอบตะเข็บชายแดน
โดยมีหลักสูตรวิศวกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (วศ.บ.วิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (วศ.ม.วิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ) และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (ปร.ด.วิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ) คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เป็นคณะทำงานร่วมกัน
หลักสูตรพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะเข้าร่วมหารือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อความร่วมมือทางวิชาการ ในการพัฒนาและบริหารงานหลักสูตรฯ
วันศุกร์ที่ 18 เมษายน 2568 คณะวิศวกรรมศาสตร์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ นางทิน คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยคณาจารย์และเจ้าหน้าที่หลักสูตรวิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะร่วมหารือกับนายธวัชชัย สำราญวานิช รองผู้ว่าการ ฝ่ายยุทธศาสตร์ และทีมบริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เรื่อง บันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการโครงการความร่วมมือทางวิชาการ ในการพัฒนาและบริหารงานหลักสูตรวิศวกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (วศ.บ.วิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (วศ.ม.วิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ) และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (ปร.ด.วิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ)
หลักสูตรพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะเข้าร่วมหารือผู้แทนอธิบดีอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เพื่อความร่วมมือทางวิชาการ ในการพัฒนาและบริหารงานหลักสูตรฯ
วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน 2568 ณ ห้องประชุมมาลากุล 1 ชั้น 3 อาคาร 70 ปี กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ นางทิน คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยคณาจารย์และเจ้าหน้าที่หลักสูตรวิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะร่วมหารือกับ นายอาวุธ เครือเขื่อนเพชร ผู้อำนวยการกองพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงาน และรักษาการผู้อำนวยการกองกำกับและอนุรักษ์พลังงาน ผู้แทนอธิบดีอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และทีมงานกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเรื่อง บันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการโครงการความร่วมมือทางวิชาการ ในการพัฒนาและบริหารงานหลักสูตรวิศวกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (วศ.บ.วิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (วศ.ม.วิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ) และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (ปร.ด.วิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ)
พลังงานร่วมใจช่วยเหลือผู้ประสบธรณีพิบัติภัย 28/03/68
จากกรณีธรณีพิบัติภัย แผ่นดินไหวอันเกิดจากกลุ่มรอยเลื่อนสะกาย ประเทศเมียนมา และส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย อาจารย์และนักศึกษาของวิศวกรรมพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ ได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์เพื่อจัดหาน้ำดื่มและของใช้จำเป็นแก่ผู้ป่วยและผู้ประสบภัย ณ โรงพยาบาลราชวิถี โดยผ่านตัวแทนนักศึกษาปัจจุบัน ว่าที่ร้อยตรี ดร.พิชา พันธุ์มงคล